สำนักบริการวิชาการ ร่วมกับ สสจ.ขอนแก่น เสริมทักษะด้าน อย.ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน “ออมสินยุวพัฒน์”

              วันที่ 24 เมษายน 2567 สำนักบริการวิชาการ ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ กฎหมายอาหารและการขออนุญาต ภายใต้โครงการเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น 2567 “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting ให้แก่นักศึกษาและกลุ่มวิสาหกิจที่เข้าร่วมกิจกรรมออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อเกลือบ้านบ่อ ตำบลเขาน้อย อำเภอเวียงเก่า และ กลุ่มวิสาหกิจแปรรูปปลาโพธิ์ตาก ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้ เน้นวัตถุดิบท้องถิ่น สร้างรายได้ และมีความเข้าใจในมาตรฐานตามพระราชบัญญัติอาหารและเครื่องสำอาง

                รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ เชื่อมั่นว่า การอบรมในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มวิสาหกิจซึ่งจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจและยกระดับจนได้มาตรฐาน อย. และการจัดอบรมในครั้งก็ถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจที่สำคัญในการบริการวิชาการแก่สังคม ซึ่งถือเป็นหนึ่งในภารกิจหลักอีกประการของสำนักบริการวิชาการ

             อาจารย์ ดร.จินณพัษ โดมินิค จากคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า เป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักศึกษาและกลุ่มวิสาหกิจที่ได้รับความรู้ที่ส่งเสริมให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างถูกต้องปลอดภัยโดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและสุขภาพ

               กิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 4 ท่าน ได้แก่ นางวีรยา ถาอุปชิต เภสัชกรชำนาญการ, นางสาวอมรรัตน์ โคตรปัญญา เภสัชกรชำนาญการ
และนางสาวศิวพร ฉวีราช เจ้าพนักงานเภสัชกรรมชำนาญการ ให้ความรู้ในหัวข้อ แนวทางขออนุญาตและมาตรฐานตามพระราชบัญญัติอาหาร นางศิวากร รัตนภากร เภสัชกรชำนาญการ ให้ความรู้ในหัวข้อ แนวทางขออนุญาตและมาตรฐานตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง โดยการอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจำนวน 22 คน

สำนักบริการวิชาการ มข. ร่วมกับ สำนักงานศาลยุติธรรมจังหวัดยโสธร จัดหลักสูตร Upskill ให้กับบุคลากรภาครัฐ ด้านไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ เพื่อลดข้อขัดแย้งและคดีความที่เกิดขึ้น และ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยฯ ของกระทรวงยุติธรรม

คณะเทคโนโลยี มข. ได้เข้าร่วมโครงการวิจัย “การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมน้ำปลาร้า ด้วยเทคโนโลยีสร้างมูลค่ากากปลาร้า (ระยะที่ 2)” ของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

Scroll to Top