“เข้าใจ เข้าถึง จึงจะพัฒนาได้” คณบดี COLA KKU นำนักศึกษาโครงการยุวชนอาสา เรียนรู้จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ก่อนพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น

“เข้าใจ เข้าถึง จึงจะพัฒนาได้” คณบดี วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น COLA KKU นำนักศึกษาโครงการยุวชนอาสา เรียนรู้จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ก่อนพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น

วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น COLA KKU เดินหน้าลงพื้นที่ ที่บ้านเทศบาลตำบลอิตื้อ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ เพื่อขับเคลื่อนสิ่งที่ได้รับมอบหมาย นั่นคือ “โครงการยุวชนอาสา” ที่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ได้รับมอบหมายจาก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.) ให้รับผิดชอบ 14 พื้นที่ ร่วมกับเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาแห่งอื่น ๆ ในภาคอีสาน ในการนำองค์ความรู้ เข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ชุมชน ในเชิงบูรณาการ กับการเรียนการสอนในชั้นเรียน เนื่องจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มีนโยบายที่ชัดเจนในการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์ ให้มุ่งเน้นการสัมผัสกับประสบการณ์จริงให้มากขึ้น และมีการร่วมมือกับชุมชนในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ผ่านองค์ความรู้จากชั้นเรียน

ดังนั้นในวันที่ 26 ธันวาคม 2562 รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ คณบดี ในฐานะผู้นำวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น  มข. นำนักศึกษาโครงการยุวชนอาสา วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรียนรู้เรื่องการพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำชุมชน ร่วมกับเทศบาลตำบลอิตื้อ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ โดยการนำของ นายกเทศมนตรี ประเทือง บุตรวงค์ (ท่านนายกเป็นศิษย์เก่าหลักสูตร รป.ม. สาขาวิชากาคปกครองท้องถิ่น วปท.มข.รุ่น 3 และสมาชิกในครอบครัวท่านถึง 3 คนเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น)

สำหรับการดำเนินการลงพื้นที่เป้าหมายนำร่อง และเป็นต้นแบบในการพัฒนาเก็บข้อมูล อย่าง พื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ เทศบาลตำบลอิตื้อ  ในวันนี้นั้น ทีมนักศึกษาของวิทยาลัยฯ ได้ทำการสำรวจเชิงวิเคราะห์ จากการสอบถาม รับฟังการนำเสนอ และการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนไปพร้อม ๆกัน เพื่อมาเป็นข้อมูลประกอบกันในการสร้างความร่วมมือกับชุมชนในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และ พบว่าที่นี่มีพื้นที่เพื่อการเกษตรและท่องเที่ยว เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และยั่งยืน  และในพื้นที่มีความโดดเด่นของทรัพยากรในระดับหนึ่ง ที่นักศึกษาสามารถนำไปต่อยอด วางแผน ร่วมกับเทศบาลตำบลอิตื้อ ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไปได้ อนึ่ง นักศึกษาโครงการยุวชนอาสา ของวิทยาลัยฯ ต่างพบความท้าทาย คือ จะสร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่ม รวมทั้งจัดระบบให้เชื่อมโยงวิถีการผลิตที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อเพิ่มการหนุนเสริมการสร้างประสิทธิภาพการผลิตสินค้าท้องถิ่น

รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ คณบดี ยังได้กล่าวขอบคุณเจ้าของพื้นที่ หลังนำนักศึกษาโครงการยุวชนอาสา วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรียนรู้เรื่องการพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำชุมชน “ทะเลบัวแดง” ที่ถือเป็นแหล่งน้ำของกรมชลประทาน พื้นที่ 1,200 ไร่ ที่ใช้ทั้งเพื่อการเกษตรและท่องเที่ยวร่วมกับเทศบาลตำบลอิตื้อ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งนำโดยนายกเทศมนตรี

ด้าน นายประเทือง บุตรวงค์ นายกเทศมนตรีตำบลอิตื้อ รปม.สาขาการปกครองท้องถิ่น รุ่นที่3มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังได้เสริมด้วยว่า “ทะเลบัวแดง อ่างเก็บน้ำหนองหญ้าม้า บ้านแกเหนือ ตำบลอิตื้อ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับการเยี่ยมชม จากท่านคณบดีวิทยาลัยปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะนักศึกษาอาจารย์ ในนามชาวเทศบาลตำบลอิตื้อรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้มีโอกาสต้อนรับท่านคณบดี และคณะด้วยความยินดียิ่ง ขอบพระคุณมากครับ”

ตัวแทนนักศึกษา สาขาวิชาการจัดการการปกครองท้องถิ่น  ซึ่งจะเป็นกำลังหลักสำคัญในการดำเนินโครงการยุวอาสา  ยังได้พูดถึงการลงพื้นที่ด้วยว่า “วันนี้ได้เข้าใจ เข้าถึง พื้นที่ ต.อิตื้อ ก่อนจะมาหาคำตอบว่า การท่องเที่ยว จะสร้างประโยชน์ให้คนท้องถิ่น และพัฒนาคนในชุมชน ให้มีความสุขกับการเติบโตของการท่องเที่ยวโดยคนในชุมชนได้อย่างไร พร้อมจะมองต่อว่า คนในชุมชน จะได้รับประโยชน์ในแบบที่ตนเองต้องการ ไม่ว่าจะเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้น สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นจากการได้ฟื้นฟูวิถีชีวิตดั้งเดิม  ได้อย่างไร พร้อมกล่าวขอบคุณ นายประเทือง บุตรวงค์ นายกเทศมนตรี ต.อิตื้อ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ในฐานะเป็น ‘เจ้าบ้าน’ และเป็นรุ่นพี่ ที่ได้ให้ข้อมูล กับพวกตน ในการมองต่อว่าจะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว เชิงธรรมชาติ อย่างไร ชูของดีในพื้นที่ ดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม และโอกาสที่จะพัฒนาต่ออย่างไร โดยพื้นที่ในวันนี้ที่ได้ทำการเรียนรู้ คือ ทะเลบัวแดง ซึ่งเป็นทุนทางสิ่งแวดล้อม ครั้งหน้า พวกเราจะมาเรียนรู้ในพื้นที่ แก้ปัญหาความยากในพื้นที่กันต่อ เช่น การกักเก็บน้ำ การบริหารจัดการ ป่าชุมชน อุตสาหกรรมเห็ดขนาดใหญ่ การสร้างเรื่องราว ชูประสัติศาสตร์ ผ่านต้นยูคา ต้นจามจุลีใหญ่สุดในไทย และสร้างมูลค่าเพิ่มให้เป็นที่รู้จักในมุมกว้างว่า จ.กาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดที่ถือได้ว่าเป็นแหล่งผลิตกุ้งก้ามกรามที่ใหญ่สุดในภาคอีสาน”

https://youtu.be/LydZgEGvv9A

 

 

 

ภาพ/ข่าว:ภาภรณ์ เรืองวิชา

 

 

Scroll to Top