โอกาส ความท้าทาย และผลกระทบความมั่นคงตามลำน้ำโขง

รศ.รังสรรค์ เนียมสนิท ผอ.สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สยปพ.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ข้อมูลและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นประเด็นความมั่นคงในองค์รวมตามลำน้ำโขง รวมถึงโอกาส ความท้าทาย ผลกระทบที่มีต่อภาคอีสานกับศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองทัพไทย

วันที่ 28 มกราคม 2563 รศ.รังสรรค์ เนียมสนิท ผอ.สยปพ.มข.ให้การต้อนรับ พันเอก บัณฑูร บำเรอราช รองผู้อำนวยการ ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองทัพไทย พร้อมคณะ เพื่อให้ข้อมูล และร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่อง “ความท้าทายตามแนวแม่น้ำโขง : ศึกษาเฉพาะกรณีพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”

         รศ.รังสรรค์ เนียมสนิท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สยปพ.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น  เผยว่า  สถานการณ์วิกฤติแม่น้ำโขงลดแห้งจากหลายสาเหตุ เป็นประเด็นความท้าทายด้านความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชากร สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี กฎระเบียบการค้า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ต่างเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันและกัน เกิดการแย่งชิงเก็บกักน้ำเพื่อผลิตพลังงาน เกิดผลกระทบต่อรูปแบบการค้าชายแดนตามจุดผ่อนปรน ส่งผลให้ สภาพสังคม วิถีชีวิตชุมชนตามริมแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลง มีความสุ่มเสี่ยงต่อการลักลอบเข้า-ออก ประเทศที่ผิดกฎหมาย อาจเกิดการค้ามนุษย์ ขนสิ่งเสพติด ผิดกฎหมาย เป็นภัยคุกคามกับประเทศ เมื่อพบวิกฤติ จึงควรมีนโยบาย มาตรการรับมือ และแนวทางในการสร้างโอกาสร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย อาทิ ข้าราชการ นักธุรกิจ และภาคประชาสังคมในพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างการทำงาน และสร้างความสัมพันธ์ไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง

ขอบคุณข้อมูลข่าว / ภาพข่าว
จากสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

 

เฮ็ดให้สุด ขุดให้เถิง!! บทบาทของนักวิชาการและนักวิจัย COLA ชวนคุยเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แรงงานสร้างสรรค์ ท่ามกลางกระแสซอฟพาวเวอร์ของประเทศ ผ่านรายการ “คุณเล่า เราขยาย” ที่ Thai PBS

Scroll to Top