นศ.มข. คว้า 2 รางวัล “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์” ครั้งที่ 9 (R2M) ระดับภูมิภาค โชว์ผลงานวิจัยนวัตกรรม มข. สู่เชิงพาณิชย์

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2564ที่ผ่านมา   อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมพิธีเปิด โครงการ”เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 9″ ระดับภูมิภาค (Research to Market : R2M Thailand 9) ประจำปี 2564   โดยได้รับเกียรติจาก คุณวนิดา บุญนาคค้า ผู้อํานวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯ และ ศาสตราจารย์ ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน วิจัย และนวัตกรรม กล่าวต้อนรับและกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดงาน ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 2-3 ตุลาคม 2564  ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ zoom meeting

 

โครงการประกวด “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์” ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กปว.) ให้ดําเนินการจัดกิจกรรมคัดเลือกงานวิจัยที่ในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นงานวิจัยมีศักยภาพด้าน การตลาด มาศึกษาความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ และจัดการแข่งขันประกวดแผนธุรกิจ เพื่อการใช้ประโยชน์และต่อยอด ผลงานวิจัย และนวัตกรรมออกสู่เชิงพาณิชย์ โดยมีตัวแทนผู้เข้าร่วมการแข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกจากสถาบันการศึกษาในเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมทั้งสิ้น 20 ทีม เข้าแข่งขันในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ zoom meeting

ทีมบุญช่วย ผลงานนวัตกรรม เซรั่มบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ทีม Mongkol Job ผลงานนวัตกรรมวัสดุสำหรับเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

              ผลการแข่งขัน โครงการ “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 9” ระดับภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Research to Market : R2M Thailand 9) ประจำปี 2564

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Daisy Glazz ผลงานนวัตกรรม กระจกผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่รางวัล

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม บุญช่วย ผลงานนวัตกรรม เซรั่มบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่รางวัล

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ทีม MED-Clean ผลงานนวัตกรรม การผลิตไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เพื่อการฆ่าเชื้อไวรัส จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่รางวัล

รางวัลชมเชย 3 รางวัล รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่รางวัล ได้แก่

ทีม Mongkol Job ผลงานนวัตกรรมวัสดุสำหรับเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

– ทีม Top Team ผลงานนวัตกรรม เครื่องล้างผลไม้ลดสารพิษตกค้างและฆ่าเชื้อโรคด้วยเทคโนโลยีโอโซนไมโครบับเบิ้ลผสานกับอัลตราโซนิคควบคุมด้วยเทคโนโลยี IoT จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

และ ทีม Gen-A-Tech ผลงานนวัตกรรม การตรวจสอบเพศอินทผลัมด้วย DNA จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี,

ทั้งนี้ 6 ทีมที่ได้รับการคัดเลือกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเป็นตัวแทนไปแข่งขันในระดับประเทศ ที่มีกําหนดจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ภาพ : พาณีพร , พรสุดา

ข่าว : พรสุดา

ภาพบรรยากาศการเเข่งขัน

ภาพบรรยากาศการเเข่งขัน

ภาพบรรยากาศการเเข่งขัน

ภาพบรรยากาศการเเข่งขัน

ภาพบรรยากาศการเเข่งขัน

Scroll to Top