สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จัดแข่งขัน Hackathon Young Gear Challenge 2024 การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิศวกรรม ระดับมัธยมปลาย

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาด้านวิศวกรรมสำหรับเด็กรุ่นใหม่ และได้การแสดงศักยภาพการทำงานเป็นทีม การระดมความคิดร่วมกัน รวมไปถึงสร้างความตระหนักรู้และรับผิดชอบถึงปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยอาศัยการแก้ปัญหาเชิงวิศวกรรม จึงได้จัดการแข่งขัน Hackathon Young Gear Challenge 2024 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 และปีที่ 6 ขึ้น เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่เข้าใจถึงหลักการพื้นฐานด้านการออกแบบและพัฒนาด้านวิศวกรรมศาสตร์ ถือเป็นปัจจัยที่จะให้นักเรียนได้นำไปประยุกต์ใช้ทั้งในการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้นการจัดกิจกรรมครั้งนี้ กำหนดให้นักเรียนมีส่วนร่วมการแก้ปัญหาใน 2 หัวข้อ ได้แก่ 1. การจัดการกับปลาหมอค้างดำ 2. การจัดการการขับขี่เพื่อให้ถูกวินัยจราจร โดยเน้นหลักการด้านวิศวกรรมเพื่อแก้ปัญหาภายในระยะเวลาที่กำหนด
โดยการแข่งขันที่เกิดขึ้นมีโรงเรียนที่เข้าสมัครเข้าร่วมถึง 88 ทีมจากทั่วประเทศ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้คัดเลือกนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 20 ทีม จำนวน 100 คน โดยทีมที่ชนะการแข่งขันได้แก่
1.ทีม PANCAKE หัวข้อ Driver Awareness (DAS) ประกอบด้วย นางสาวศิรภัสสร สุขหิ้น นายศิริ ขนานสุข นายพรกริช สมรูป นายพงศ์ปณต ผลชัย และ นายธนพิพัฒน์ ศรีเปารยะ จากโรงเรียน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ และโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

2.ทีม SOR.SOR.KOR หัวข้อ แผนการจัดการปลาหมอคางดำแบบ 300% ประกอบด้วย นายภูม เสนานุตร นางสาวสิรยากร เทพนรินทร์ นายสุวิจักขณ์ ขจีสวัสดิการ นายธีร์ธวัช หิรัญแพทย์ และ นายทรงวุฒิ สัตตภูธร จากโรงเรียน โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

3.ทีม KKW แก้งคร้อ หัวข้อ CheckMate แก้ปัญหาปลาหมอคางดำ ประกอบด้วยนายวรพล พูลเพ็ชร์ นายเขตต์ แสงตันชัย นายสิรภพ เจริญคุณ นายพงศธร ทาน้อย นางสาวพชรพร สาลีทอง จากโรงเรียนแก้งคร้อวิทยา
“การแข่งขัน Hackathon Young Gear Challenge 2024 ถือเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพทางด้านวิศวกรรมและการแก้ปัญหาสังคม นอกจากนี้นักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันยังได้รับโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญ เช่น การวางแผนและการบริหารจัดการเวลา การทำงานร่วมกับผู้อื่น การสื่อสารและการนำเสนอผลงานอย่างมืออาชีพ ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาและการทำงานในอนาคต”

   

Scroll to Top