OAS KKU จัด 3 หลักสูตร Upskill เสริมทักษะสำหรับวิชาชีพ ด้านการเงิน ด้านงานพัสดุ และ งานด้านการบริหารความเสี่ยงสำหรับผู้ตรวจสอบภายใน

           หนึ่งในพันธกิจและเป้าประสงค์ที่สำคัญของสำนักบริการวิชาการ คือ หลักสูตรการจัดการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong education) ที่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย แหล่งความรู้ที่เข้าถึงได้ง่ายและเปิดกว้างสำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย โดยสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยการ Reskill/Upskill/New skill ให้แก่ผู้เรียนทุกช่วงวัย มีการจัดหลักสูตรอบรมหลักสูตรระยะสั้น (Professional Training หรือ Short Courses Training) เพื่อสนองตอบต่อยุทธศาสตร์ชาติทั้งในด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ สร้างโอกาสทางการศึกษาและความเสมอภาคทางสังคมให้เพิ่มมากขึ้น

   

            เมื่อวันที่ 2-4 มิถุนายน 2566 สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดอบรมหลักสูตร เพื่อ Upskill. เสริมทักษะสำหรับวิชาชีพด้านงานพัสดุ และ งานด้านการบริหารความเสี่ยงสำหรับผู้ตรวจสอบภายใน โดยประกอบไปด้วย 3 หลักสูตร ได้แก่

        หลักสูตรที่ 1 “กลยุทธ์การตรวจรับพัสดุให้ชอบด้วยกฎหมาย การบริหารสัญญาภาครัฐอย่างมืออาชีพ การจัดหาพัสดุโดยวิธี e-bidding วิธีเฉพาะเจาะจง การเขียน Spec เพื่อให้ได้พัสดุตรงตามความต้องการ การกำหนดคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอ เพื่อลดความเสี่ยงในการอุทธรณ์ หรือข้อร้องเรียน ต่างๆ และการดำเนินการ ตาม ว 56 แนวทางการบริหารสัญญา ตาม ว 124 และ ว 125 แนวทางปรับลดเนื้องานตาม ว 452” ระหว่างวันที่ 2-4 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมเลอแคสเซีย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวนผู้เข้าอบรม 44 คน

          พิธีเปิดได้รับเกียรติจาก รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ โดย การอบรมในครั้งนี้ได้วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์เพชร โพสาราช ผู้ชำนาญการด้านการจัดซื้อจัดจ้าง/ ระเบียบพัสดุภายใต้บริบทของผู้ปฏิบัติงานในท้องถิ่น (อปท) ไม่น้อยกว่า 34 ปี โดยความรู้ที่ได้รับจากหลักสูตร คือ หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 หลักการ หรือแนวทางการจัดทำ TOR / Spec/ ข้อควรระวัง /ข้อกำหนด , หลักการมาตรา 9 คือข้อเทคนิค คุณภาพ และวัตถุประสงค์ของการจัดซื้อ จัดจ้าง/ ผู้ใดเป็นผู้จัดทำ TOR การจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะพัสดุ งานจ้างที่มิใช่งานก่อสร้าง ประเด็นข้อบกพร่องที่พบบ่อย ๆ และความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพัสดุ

            หลักสูตรที่ 2 “เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการตั้งงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2567 การบริหารเงินงบประมาณ เงินสะสม ทุนสำรองเงินสะสม การประชุมสภาท้องถิ่นและการพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2567 ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565” ระหว่างวันที่ 2-4 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมเลอแคสเซีย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวนผู้เข้าอบรม 35 คน

             การอบรมในครั้งนี้ได้วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์สุขวสา ศรีสุเทพ นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักกฎหมาย กระทรวงมหาดไทย และ ดร.รัตนาภรณ์ คชมะเริง ผู้อำนวยการกลุ่มงานการเงิน บัญชีและการตรวจสอบ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยเนื้อหาเน้นไปยังการสร้าง ความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารท้องถิ่น ประธานสภาท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประชุมสภาท้องถิ่นและการพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 แนวทางปฏิบัติงานที่ถูกต้องโดยศึกษาจากหนังสือตอบข้อหารือ หนังสือซักซ้อมแนวทางปฏิบัติ ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา และคำพิพากษาศาลในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนได้เรียนรู้ระบบงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดตั้งงบประมาณ การเบิกจ่ายงบประมาณ เงินสำรองจ่าย เงินสะสม และทุนสำรองสะสม
          หลักสูตรที่ 3 “ฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยง และการจัดทำรายงานติดตามประเมินผล ระบบควบคุมภายใน เพื่อลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานของรัฐอื่น ตามที่ พรบ.วินัยฯ พ.ศ. 2561 มาตรา 79 และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกำหนด” ระหว่างวันที่ 2–4 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น
         มีประเด็นความรู้ที่สำคัญ ได้แก่ การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง การดำเนินงานตามปฎิทินความเสี่ยงในบริบทของท้องถิ่น การตรวจประเมิน ทั้งสองระบบสำหรับผู้ตรวจสอบภายใน โดยวิทยากรจากผู้ปฏิบัติงานจริง อ.ปนัดดา พลปัถพี หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน ผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการ โดยมีผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 40 คน
Scroll to Top